วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2560

พระไตรปิฏก

พระไตรปิฏก

ความหมายของ พระไตรปิฎก
ตู้พระไตรปิฏก
วัดระฆังโฆสิตาราม
พระไตรปิฏก แปลว่า ๓ คัมภีร์ เมื่อแยกเป็นคำๆ ว่า พระ + ไตร + ปิฏก คำว่า "พระ" เป็นคำแสดงความเคารพหรือยกย่อง คำว่า "ไตร" แปลว่า สาม คำว่า "ปิฏก" แปลได้ ๒ อย่าง คือ แปลว่า คัมภีร์ หรือแปลว่า กระจาด ตะกร้า
     ดังนั้น พระไตรปิฏก จึงหมายถึง สิ่งที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นหมวดหมู่ไม่ไห้กระจัดกระจาย คล้ายกระจาดหรือตะกร้าอันเป็นภาชนะใส่ของนั้นเอง
     ปิฏก ๓ หรือพระไตรปิฏก แบ่งออกเป็น
๑. พระวินัยปิฏก ว่าด้วยวินัยหรือศีลของภิกษุ ภิกษุณี
๒. พระสุตตันตปิฏก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาทั่วไป
๓. พระอภิธรรมปิฏก ว่าด้วยธรรมล้วนๆ หรือธรรมสำคัญ




พระวินัยปิฏก
คัมภีร์ว่าด้วยระเบียบวินัย
พระสุตตันตปิฏก
คัมภีร์ว่าด้วยพระธรรมเทศนาทั่วๆ ไป มีประวัติ และท้องเรื่องประกอบ เน้นความสำคัญในสมาธิ คือการพัฒนาด้านจิตใจ
พระอภิธรรมปิฏก
คัมภีร์ว่าด้วยหลักธรรม และคำอธิบาย ที่เป็นเนื้อหาวิชาการล้วนๆ ไม่มีประวัติและท้องเรื่องประกอบ
ความสำคัญของพระไตรปิฎก
     ก่อนปรินิพพาน พระพุทธเจ้าได้ตรัสทำนองสั่งเสียกับพระอานนท์ว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานล่วงลับไปแล้ว จะไม่ทรงตั้งภิกษุรูปใดแทนพระองค์ หากแต่ให้ชาวพุทธทั้งหลายยึดพระธรรมวินัยเป็นศาสดาแทนพระองค์ ตามพระพุทธพจน์ว่า "โย โว อานนฺท มยาธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา" แปลว่า ดูก่อน อานนท์ ธรรมและวินัยใดที่เราได้แสดงแล้วและบัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น เป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย โดยกาลที่เราล่วงลับไป
     พระพุทธพจน์นี้แสดงให้เห็นว่า พระธรรมวินัย ถือเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า จึงเท่ากับเป็นองค์พระศาสดาและเป็นตัวแทนพระพุทธศาสนา และพระธรรมวินัยทั้งหลายนั้นล้วนได้ประมวลอยู่ใน พระไตรปิฏก ทั้งสิ้น
อาจกล่าวได้ว่า พระไตรปิฏก มีความสำคัญดังนี้ คือ
๑. เป็นที่รวบรวมไว้ซึ่งพระพุทธพจน์ คือคำสั่งของพระพุทธเจ้า
๒. เป็นที่สถิตของพระศาสดาของพุทธศาสนิกชน เราสามารถเฝ้าพระพุทธเจ้า หรือรู้จักพระพุทธเจ้าได้จากพระไตรปิฏก
๓. เป็นแหล่งต้นเดิมหรือแม่บทในพระพุทธศาสนา
๔. เป็นมาตรฐานตรวจสอบคำสอนและข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนา คำสอนและข้อปฏิบัติใดๆ ที่จะถือว่าเป็นคำสอนและข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนาได้ จะต้องสอดคล้องกับพระธรรมวินัยในพระไตรปิฏก
๕. เป็นคัมภีร์ที่ถือเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ทางวิชาการ

สุชาดา วราหพันธ์, วิถีธรรมวิถีไทย, หน้า ๔๒-๔๓


 ความหมายพระไตรปิฎก
   จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดยพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)
 ความหมายพระวินัยปิฎก
   จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดยพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระวินัยปิฎก ๘ เล่ม
    พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
    พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒
    พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓
    พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
    พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕
    พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๖
    พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗
    พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๘
 ความหมายสุตตันตปิฎก
   จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดยพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระสุตตันตปิฎก ๒๕ เล่ม

ทีฆนิกาย เล่ม ๑-๓
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓

มัชฌิมนิกาย เล่ม ๔-๖
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

สังยุตตนิกาย เล่ม ๗-๑๑
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

อังคุตตรนิกาย เล่ม ๑๒-๑๖
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖

ขุททกนิกาย เล่ม ๑๗- ๒๕
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕
 ความหมายอภิธรรมปิฎก
   จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดยพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น