การปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมด้านกาย วาจา และใจ
หน้าที่ของชาวพุทธอย่างหนึ่งในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี จะต้องปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อเป็นแนวปฏิบัติตนได้อย่างมีความสุข ดังนั้นชาวพุทธจึงต้องปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมด้านกาย วาจา และใจ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “คนมีศีลธรรม” ซึ่งพระธรรมปิฎก ได้กล่าวถึง คนมีศีลธรรม (สมาชิกในหมู่อารยชน) หรือมีมนุษยธรรม ที่เรียนได้ว่าเป็นอารยชน มีคุณสมบัติดังนี้คือ
1. มีสุจริตทั้งสาม คือ มีความประพฤติดีประพฤติชอบ 3 ประการ ได้แก่
1.1 กายสุจริต คือ มีความสุจริตทางกาย ทำสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยกาย
1.2 วจีสุจริต คือ มีความสุจริตทางวาจา พูดสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยวาจา
1.3 มโนสุจริต คือ มีความสุจริตทางใจ คิดสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยใจ
1.1 กายสุจริต คือ มีความสุจริตทางกาย ทำสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยกาย
1.2 วจีสุจริต คือ มีความสุจริตทางวาจา พูดสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยวาจา
1.3 มโนสุจริต คือ มีความสุจริตทางใจ คิดสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยใจ
2. ประพฤติตามอารยธรรม โดยปฏิบัติถูกต้องตามทางแห่งกุศลกรรม 10 ประการคือ
2.1 ทางกาย 3 ประการ คือ
1) ละเว้นการฆ่า การสังหาร การบีบคั้นเบียดเบียน; มีเมตตากรุณา ช่วยเหลือเกื้อกูลสงเคราะห์กัน
2) ละเว้นการแย่งชิงลักขโมย และการเอารัดเอาเปรียบ; เคารพสิทธิในทรัพย์สินของกันและกัน
3) ละเว้นการประพฤติผิดล่วงละเมิดในของรักของหวงแหนของผู้อื่น; ไม่ข่มเหงจิตใจ หรือทำลายลบหลู่เกียรติและวงศ์ตระกูลของกันและกัน
2.2 ทางวาจา 4 ประการ คือ
4) ละเว้นการพูดเท็จ โกหกหลอกลวง; กล่าวแต่คำสัตย์ ไม่จงใจพูดให้ผิดจากความจริง เพราะเห็นแก่ผลประโยชน์ใด ๆ
5) ละเว้นการพูดส่อเสียด ยุยง สร้างความแตกแยก; พูดแต่คำที่สมานและส่งเสริมสามัคคี
6) ละเว้นการพูดคำหยาบคาย สกปรกเสียหาย; พูดแต่คำสุภาพ นุ่มนวลชวนฟัง
7) ละเว้นการพูดเหลวไหลเพ้อเจ้อ; พูดแต่คำจริง มีเหตุมีผล มีสาระประโยชน์ ถูกกาลเทศะ
2.3 ทางใจ 3 ประการ คือ
8) ไม่ละโมบ ไม่เพ่งเล็งคิดหาทางเอาแต่จะได้; คิดให้ คิดเสียสละ ทำใจให้เผื่อแผ่กว้างขวาง
9) ไม่คิดร้ายมุ่งเบียดเบียน หรือจ้องที่จะทำลาย; ตั้งความปรารถนาดี แผ่ไมตรี มุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่กัน
10) มีความเห็นถูกต้อง เป็นสัมมาทิฏฐิ เข้าใจในหลักกรรมว่า ทำดีมีผลดี ทำชั่วมีผลชั่ว; รู้เท่าทันความจริงที่เป็นธรรมดาของโลกและชีวิต มองเห็นความเป็นไปตามเหตุปัจจัย
1) ละเว้นการฆ่า การสังหาร การบีบคั้นเบียดเบียน; มีเมตตากรุณา ช่วยเหลือเกื้อกูลสงเคราะห์กัน
2) ละเว้นการแย่งชิงลักขโมย และการเอารัดเอาเปรียบ; เคารพสิทธิในทรัพย์สินของกันและกัน
3) ละเว้นการประพฤติผิดล่วงละเมิดในของรักของหวงแหนของผู้อื่น; ไม่ข่มเหงจิตใจ หรือทำลายลบหลู่เกียรติและวงศ์ตระกูลของกันและกัน
2.2 ทางวาจา 4 ประการ คือ
4) ละเว้นการพูดเท็จ โกหกหลอกลวง; กล่าวแต่คำสัตย์ ไม่จงใจพูดให้ผิดจากความจริง เพราะเห็นแก่ผลประโยชน์ใด ๆ
5) ละเว้นการพูดส่อเสียด ยุยง สร้างความแตกแยก; พูดแต่คำที่สมานและส่งเสริมสามัคคี
6) ละเว้นการพูดคำหยาบคาย สกปรกเสียหาย; พูดแต่คำสุภาพ นุ่มนวลชวนฟัง
7) ละเว้นการพูดเหลวไหลเพ้อเจ้อ; พูดแต่คำจริง มีเหตุมีผล มีสาระประโยชน์ ถูกกาลเทศะ
2.3 ทางใจ 3 ประการ คือ
8) ไม่ละโมบ ไม่เพ่งเล็งคิดหาทางเอาแต่จะได้; คิดให้ คิดเสียสละ ทำใจให้เผื่อแผ่กว้างขวาง
9) ไม่คิดร้ายมุ่งเบียดเบียน หรือจ้องที่จะทำลาย; ตั้งความปรารถนาดี แผ่ไมตรี มุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่กัน
10) มีความเห็นถูกต้อง เป็นสัมมาทิฏฐิ เข้าใจในหลักกรรมว่า ทำดีมีผลดี ทำชั่วมีผลชั่ว; รู้เท่าทันความจริงที่เป็นธรรมดาของโลกและชีวิต มองเห็นความเป็นไปตามเหตุปัจจัย
3. มีศีล 5 หลักความประพฤติ 10 ข้อข้างต้นนั้น เป็นธรรมจริยาและเป็นอารยธรรมที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ทำคนให้เจริญขึ้นพร้อม ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ แต่ผู้ใดยังไม่มั่นคงในอารยธรรม ท่านสอนว่าผู้นั้นถึงควบคุมตนให้ได้ในทางกายและวาจาก่อนเป็นอย่างน้อย ด้วยการประพฤติตามหลักศีล 5 ที่เป็นส่วนเบื้องต้นของธรรมจริยา 10 ประการนั้น ก็ยังจะได้ชื่อว่าเป็นคนมีศีลธรรม คือ
1) เว้นจากปาณาติบาต ละเว้นการฆ่า การสังหาร ไม่ประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกาย 2) เว้นจากอทินนาทาน ละเว้นการลักขโมยเบียดเบียนแย่งชิง ไม่ประทุษร้ายต่อทรัพย์สิน 3) เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ละเว้นการประพฤติผิดในกาม ไม่ประทุษร้ายต่อของรักของหวง อันเป็นการทำลายเกียรติภูมิและจิตใจ ตลอดจนทำวงศ์ตระกูลของเขา สับสน 4) เว้นจากมุสาวาท ละเว้นการพูดเท็จโกหกหลอกลวง ไม่ประทุษร้ายเขา หรือประโยชน์สุขของเขาด้วยวาจา 5) เว้นจากสุราเมรัย ไม่เสพเครื่องดองของมึนเมาสิ่งเสพติด อันเป็นเหตุให้เกิดความประมาทมัวเมา ก่อความเสียหายผิดพลาดเพราะขาดสติ เช่น ทำให้เกิดอุบัติ แม้อย่างน้อยก็เป็นผู้คุกคามต่อความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัยของผู้ร่วมสังคม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น